3 เหตุผลที่เราควรเริ่มเก็บเงิน

วันนี้เราจะพาคุณไปเรียนรู้ว่าทำไมเราถึงต้องเริ่มเก็บเงิน กับบทความ 3 เหตุผลที่เราควรเริ่มเก็บเงิน ไปดูกันว่าการมีเงินออมสำคัญต่อชีวิตเราอย่ างไร

1 เงินเก็บเพื่อคนที่เรารัก

คืออะไร? เงินที่เอาไว้ดูแลคนที่ต้องพึ่งพาเงินจากเรา ไม่ว่าจะเป็นลูก คู่ชีวิต พ่อแม่ ญาติที่ต้องการเราดูแล มีไปทำไม? หล า ยคนก็คิดแค่ว่าหาเลี้ยงกันไปเดือนต่อเดือนก็ได้มั้ย แต่ความจริงของชีวิตคือ เราไม่มีทางรู้ว่าเราออ กจากบ้านไปหาเงินทุกวันนี่ จะมีวันไหนที่เราจะไม่ได้กลับบ้าน หรือหลับไปแล้วเกิดไม่ตื่นขึ้น มารึเปล่า เราจึงควรเก็บเผื่อไปล่วงหน้าด้วย

ควรมีเท่าไหร่ดี? เท่าที่เราจะอุ่นใจว่า หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน คนที่เรารักจะพอตั้งหลักใช้ชีวิตอยู่ต่อไปได้ แปลว่า ถ้ามีแค่เราที่หาเลี้ยงครอบครัว ความเสี่ยงยิ่งสูงกว่าคนที่มีพี่น้องหรือคู่ชีวิตที่หาเงินได้ด้วยอยู่ในบ้านคำนวณง่ายๆ คือรายจ่ายที่เราจ่ายต่อเดือนคูณเวลาในการตั้งหลักชีวิตหากสูญเสียเราไป หรือถ้าเป็นลูก ก็คือจนกว่าลูกคนเล็กจะเรียนจบ

เก็บแบบไหน? เวลาดูว่าเราเตรียมเงินตรงนี้ไว้พอไหม ให้ดูเงินฝากหรือท รั พ ย์สินอื่นที่ข า ยเป็นเงินสดได้ + ทุนประกันชีวิตที่มีตัวเงิน ก็ลองมองดูพวกความเสี่ยงต่ำ เช่น ฝากประจำ สลากออมสิน กองทุนตลาดเงิน เน้นเก็บไปแบบย าวๆ เพื่อความอุ่นใจ และหากระยะเวล า ย าวพอ เช่น 10 ปี กับมีความรู้เรื่องการลงทุน กองทุนหุ้น หรือ การออมหุ้นแบบ DCA

ก็เป็นอีกทางเลือ กค่ะและถ้าเงินเก็บจริงๆ ยังน้อย แนะนำให้มองหาทุนประกันชีวิต คือใช้เงินก้อนเล็กซื้ อวงเงินก้อนใหญ่มาวางไว้ที่บ้านให้อุ่นใจ หรือเป็นประกันแบบสะสมท รั พ ย์ที่ได้ทั้งสะสมเงินและความคุ้มครองจากทุนประกันชีวิตไปด้วย

2 เงินเก็บเพื่อความอุ่นใจ

คืออะไร? ภาษาทั่วไปบางคนเค้าเรียกสำรองเผื่อฉุกเฉิน emergency fund มีไปทำไม? ก็เพื่อไม่ให้ชีวิตเป็นคนอ่อนไหวง่าย Sensitive เกิดอะไรไม่คาดฝัน โดยเฉพาะเรื่องงาน เรื่องทำมาหากิน หล า ยคนต้องทนกล้ำกลืน ไม่กล้าเปลี่ยนงาน ไม่กล้าลาออ ก

เพราะไม่มีเงินสำรองตรงนี้แหละ ควรมีเท่าไหร่ดี? 3-6 เท่าของรายจ่ายจำเป็นต่อเดือน คือ ค่าที่อยู่อาศัย ค่าน้ำค่าไฟค่าโทรศัพท์ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ( ถ้าต้องออ กไปหางานใหม่ ) เก็บแบบไหน? เน้นสภาพคล่อง คือ เอาเงินออ กได้ง่ายๆ ผลตอบแทนไม่ต้องหวังสูง เช่น บัญชีเงินฝากออมท รั พ ย์ดอ กเบี้ยสูง เป็นต้น

3 เงินเก็บเพื่อสุขภาพ

คืออะไร? เงินที่เตรียมเอาไว้ดูแลร่างกายของเรา ร่างกายคนเราใช้ไปก็เสื่อมลงทุกที เราอายุเท่าไหร่ ก็ลองจินตนาการเหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งาน มานานเท่านี้ปี มันคงจะต้องสึกหรอ กันบ้างแหละค่ะ โดยเฉพาะเมื่อหล า ยคนอายุขึ้นเลข 4 มาดามก็เริ่มเห็นว่าต้องเข้าโรงพย าบาล ซ่อมบำรุงดูแลรั ก ษ าร่างกายกันแล้ว มีไปทำไม? เพื่อเป็นกองทุนไว้จ่ายสำหรับเรื่องนี้โดยเฉพาะ หากเกิดเ จ็ บป่ ว ยขึ้น มา จะได้ไม่กระทบเงินเก็บก้อนอื่น

โดยเฉพาะเงินเก็บเพื่อเกษียณ ที่เราอย ากมีไว้ใช้ตลอ ดชีวิต แทนที่จะเอามาซ่อมร่าง แล้วไม่มีเงินกินข้าว ควรมีเท่าไหร่ดี? เริ่มคิดจาก ‘ระดับของการรั ก ษ าพย าบาล’ ที่เราอย ากได้ ถ้าเราพอใจสวัสดิการรัฐหรือประกันสังคมที่มีให้ ตรงส่วนนี้ก็อาจไม่ต้องเตรียมเยอะ แต่หากเรายอมรับว่าเราอย ากได้รับการดูแลอย่ างดี ก็ลองหาข้อมูลเรื่องค่าห้อง ค่ารั ก ษ าในโรงพย าบาลที่เราใฝ่ฝันจะไปใช้บริการ แล้วประมาณการต่อ การเ จ็ บป่ ว ยหนึ่งครั้ง

เก็บแบบไหน? การเ จ็ บป่ ว ย ถือได้ว่าเป็นความเสี่ยงอย่ างนึง คือมีโอกาสจะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ค่ะ เราจะรับความเสี่ยงนั้นไว้เองด้วยการเก็บเงินไว้เป็นกองทุนส่วนตัว ถ้าเลือ กแบบนี้ก็เก็บเองจ่ายเอง ไม่ป่ ว ยไม่ต้องจ่าย แต่ถ้าป่ ว ยก็จ่ายหนัก โดยตั้งเป้าหมายแล้วทยอยเก็บในรูปแบบต ามความเสี่ยงที่รับได้ เช่น

ความเสี่ยงต่ำอย่ างกองทุนตลาดเงิน หรือรับความเสี่ยงได้สูงขึ้นหน่อยก็กองทุนหุ้น เป็นต้นค่ะ หรือจะเลือ กอีกทาง คือซื้ อประกันสุขภาพแบบเป็นวงเงินไว้เผื่อพร้อมใช้ โดยผ่อนจ่ายรายปีไปเรื่อยๆ ถ้าป่ ว ยก็ได้ใช้ จ่ายเองน้อยหน่อย ถ้าไม่ป่ ว ยก็ถือว่าจ่ายเบี้ยเพื่อซื้ อความสบายใจ ก็เป็นอีกทางเลือ กนึง ซึ่งปัจจุบันก็มีประกันควบการลงทุน ( ยูนิตลิ้งค์ที่หล า ยคนเลือ กใช้มาทำเป็นกองทุนสุขภาพส่วนตัว )

….ที่ว่ามานี่คือเงินเก็บ 3 ก้อนแรกที่เราควรมีเพื่อให้เรามั่นคง มั่นใจในการใช้ชีวิตค่ะ แต่รู้มั้ยว่า.. หล า ยคนไม่มีสามก้อนนี้ แล้วก้าวกระโดดไปลงทุนแบบเสี่ยงสูงเพื่อหวังผลตอบแทนความน่ากลัวคือ ชีวิตเค้าจะเปราะบางมากนะ หากเกิดอะไรขึ้น อาจจำเป็นต้องข า ยเงินลงทุนหรือท รั พ ย์สินที่มีแบบด่วนๆ โดยไม่สนว่ากำลังข า ดทุนอยู่รึเปล่าและต้องรีบข า ยมากๆ ด้วย!! เริ่มเตรียม 3 ก้อนนี้ก่อนเถอะนะ..เพื่อความแข็งแรงทางการเงินค่ะ

ที่มา a o m m o n e y, f o r l i f e t h