วันนี้เราอยากที่จะพาเพื่อนๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับที่ดิน สปก. ก่อนทำการซื้อขาย กับบทความ เรื่องควรรู้ ก่อนซื้อขาย ที่ดิน สปก. ไปดูกันว่าทำไมเราถึงควรรู้ และทำความเข้าใจเมื่อเรามีที่ดิน สปก. ครอบครองอยู่
ที่ดิน ส.ป.ก. คืออะไร ทำไมแบ่งแยก ซื้อ – ข า ย ไม่ได้ = ยกเว้นโอนสิทธิให้ทายาท
ที่ดิน ส.ป.ก.4-01 คือเอกสารสิทธิให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน เริ่มขึ้นเมื่อมีพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม w.ศ.2518 มีหลักการสำคัญว่า ที่ดินในเขตปฏิรูปนั้นใช้ทำเกษตรกรรมได้อย่างเดียวเท่านั้น ทำประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้ และผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก.4-01 จะต้องมีฐานะยากจน
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 39 บัญญัติว่า ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทําการ แบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก.เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยให้เป็นไปต ามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ การโอนสิทธิแก่ทายาท หมายถึง เกษตรกรผู้ได้รับ ส.ป.ก.4-01 ไม่ประสงค์จะทำประโยชน์ในที่ดินต่อไป และต้องการโอนสิทธิให้แก่ทายาท ทำได้ดังนี้
1 ยื่นคำขอ – ยื่นคำขอที่ ส.ป.ก.จังหวัด พร้อมบัญชีเครือญาติ บัตรประชาชนทะเบียนบ้าน ลูติบัตร ทะเบียนสมรส ฯลฯ
2 ผู้รับโอน ได้แก่
– คู่สมรส
– บุตร ( ยกเว้นบุตรบุญธรรม )
– บิดา มารดา ของเกษตรกร
– พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน
– พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
– หลานของเกษตรกร
– คู่สมรสที่หย่าขาด ซึ่งเป็นเกษตรกรและไม่มีที่ดินทำกิน
3 ผู้มีอำนาจพิจารณา คือ
– ปฏิรูปที่ดินจังหวัด กรณีโอนให้แก่คู่สมรสและบุตรเพียงคนเดียว
– คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดกรณีทายาทนอกเหนือจากคู่สมรสและบุตรกรณีแบ่งโอนแก่ บุตร และกรณีโอนให้แก่คู่สมรสที่หย่าขาด
4 การแจ้งผล – แจ้งผลเป็นหนังสือและให้สิทธิอุทธรณ์คัดค้าน
5 การอุทธรณ์ – ยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่รับแจ้งที่ ส.ป.ก.จังหวัด และ
6 การยื่นฟ้องศาลปกครอง – ยื่นหนังสือต่อศาลปกครองภายใจ 90 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งผลอุทธรณ์
ความรู้เพิ่มเติม
สีตราครุฑบนโฉนดที่ดินแต่ละสี ต่างกันอย่างไร รู้ไว้จะได้ไม่โดนโกง
ครุฑดำ – หนังสือ นส.3
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน หรือสีครุฑสีดำเป็นเอกสารที่เป็นประกาศจากราชการ ไม่มีการรังวัดที่แน่นอน เสี่ยงที่จะซื้อ ข า ย ‘หนังสือรับรองการทำประโยชน์’ ประเภท น.ส.3 และ น.ส.3 ข. จำง่าย ๆ ละกันว่า 2 อันนี้ ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศเป็นเอกสารที่ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ใช้สำหรับเป็นหนังสือรับรองจะแสดงถึงสิทธิ์ หรือถ้าต้องการจะ ข า ย ต้องรอประกาศ จากราชการ 30 วัน
ครุฑสีแดง – โฉนดที่ดิน นส.4
คือ โฉนดที่ผู้ถือครองมีกรรมสิทธิ์ 100% โอนกรรมสิทธิ์ได้ เรียกได้ว่าเป็นโฉนดที่ดิน ที่มีสิทธิ์ในการทำกิน และ อยู่อาศัย ตราครุฑสีแดง หรือ น.ส.4 เป็นเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ ที่ชัดเจนที่สุด ซื้อ ข า ย ได้ โอนได้ถูกต้องต ามกฎหมาย แน่นอน
ครุฑเขียว – หนังสือ นส.3 ก
เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินนั้นๆ ‘ไม่ใช่ โฉนดที่ดิน’ และ ไม่มีถือเป็น ‘กรรมสิทธิ์’ แต่สามารถซื้อ ข า ย จำนอง และสามารถยื่นเรื่องเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินได้ ย้ำว่าตราครุฑสีเขียว หรือ น.ส.3 ก. ซึ่งออกในท้องที่ที่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ เป็นเอกสารที่ไม่ใช่โฉนดที่ดินใช้สำหรับเป็นหนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ว่าเราได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นๆ
และสุดท้าย
ครุฑน้ำเงิน – หนังสือ สปก.
ที่ดินแบบนี้ ‘ซื้อ ข า ย ไม่ได้’ ย้ำชัดๆ ไปเลย นะว่า หลายคนชอบโดนหลอกให้ซื้อที่ดินประเภทนี้ ซึ่งจริงๆ แล้ว ข า ย ไม่ได้ เป็นที่ดินที่ราชการออกให้เพื่อให้เกษตรกรใช้ในการทำกินเท่านั้น ออกโดย ‘สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม’ แต่สามารถทำสัญญาเช่าได้ 99 ปี และสามารถตกเป็นมรดกให้ทายาทได้ แต่เราก็ขอแนะนำกันตรงๆ เลยว่า อย่าไปซื้อโฉนดที่เป็นตราที่ดินครุฑสีน้ำ เลย
สรุป
หากเราจะทำการซื้อ ข า ย ที่ดินล่ะก็ ขอให้จำไว้ว่า โฉนดที่ดิน น.ส. 4 ( ครุฑสีแดง ) เป็นโฉนดที่ดินที่น่าเชื่อใจที่สุดในการซื้อ ข า ย ส่วนเอกสารที่มีครุฑสีเขียวและสีดำประทับอยู่นั้นควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้ละเอียด และ ที่สำคัญ…!! ก่อนจะตกลงทำการโอน อย่าลืมนำสำเนาโฉนดที่ดินของผู้ ข า ย ไปเทียบกับของจริงที่สำนักงานที่ดินใกล้บ้านท่านก่อนด้วยนะว่าตรงกันหรือไม่ จะได้ไม่โดนโกง
เผยแwร่เพื่อเป็นความรู้เท่านั้น หากสงสัยให้ติดต่อ ส.ป.ก. จังหวัด
อ้างอิง
www.alro.go.th/alro_th/ewt_news.php?nid=1236&filename=index
www.kaset1009.com/th/articles/148226–ที่ดิน-ส.ป.ก.-แบ่งแยก-ซื้อ- ข า ย -ไม่ได้-:-ยกเว้นโอนสิทธิให้ทายาท
www.pueantae-ngernduan.com/garuda-color-on-the-title-land-deed/
www.bitcoretech.com/color-garuda-on-each-land-title-know-will-not-be-cheated/
ที่มา parinyacheewit